เรียนรู้ง่ายๆๆ สไตล์ครูพี่อาร์ต

เว็บไวต์นี้จัดทำเพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการวิวัฒนาการของโลกและสิ่งมีชีวิตบนพื้นผิวโลก
เว็บไซต์นี้อาจจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่สนใจศึกษา หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัย ณ ที่นี้ด้วย

นายภูวรินทร์ อินทุวงศ์ 59010512066 คณะศึกษาศาสตร์ สาขาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วิวัฒนาการของโลกและสิ่งมีชีวิตบนพื้นผิวโลก

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

น้ำ
        น้องๆลองดูคลิปนี้นะคะ มีความรู้วิทยาศาสตร์และข้อคิดให้น้องๆลองคิดมากมายเลยค่ะ และที่สำคัญมันเกี่ยวข้องกับชีวิตเราทุกคนด้วยค่ะ

น้องๆสงสัยกันไหมคะ ว่าทำไมเราแต่ละคนมีลักษณะบางอย่างเหมือนพ่อ หรือบางอย่างเหมือนแม่ เราไปหาคำตอบจากความหมายของพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพตามลิ้งค์นี้เลยค่ะ




ตื่นมาติวAdmission ชีววิทยา
ขอเป็นกำลังใจให้น้องๆทุกคนนะคะ เนื้อหาในคลิปนี้มีประโยชน์มากๆเลยค่ะเข้าใจง่ายและไม่น่าเบื่อด้วยค่ะ 

วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559

                    

 มหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic Era) เป็นช่วงของ 65 ล้านปีก่อนจนถึงปัจจุบัน การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์เปิดทางให้เกิดการกระจายพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนานาชนิดทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ เช่น ม้า สุนัข และหมี พบลิงไม่มีหาง (ape) และในราว 5-1.8 ล้านปีก่อน พบบรรพบุรุษของมนุษย์ ส่วนบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบันนั้นพบในช่วง 1.8 ล้านปี - 11,000 ปีก่อน ในมหายุคซีโนโซอิกนี้พืชดอกกลายเป็นพืชกลุ่มเด่น แบ่งเป็น 2 ยุคดังนี้


                    1.) ยุคเทอร์เชียรี (Tertiary)
            ยุคนี้ประกอบด้วยสมัยพาลีโอซีน อีโอซีน และโอลิโกซีน มีช่วงอายุ 38 ล้านปี (จาก 66 ถึง 28 ล้านปีมาแล้ว) ในยุคนี้พบพืชบกโดยทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นพวกที่มีลักษณะคล้ายพืชปัจจุบัน แหล่งถ่านลิกไนท์ที่สำคัญเกิดในสมัยโอลิโกซีน จำพวกสัตว์มีกระดูกสันหลังพบปลาฉลามอยู่ทั่วไป ปลากระดูกแข็ง (ทีลีออสท์) เริ่มมีมากขึ้น สัตว์เลื้อยคลายมีพวกจระเข้ เต่า เริ่มพบเต่าที่อาศัยอยู่บนบก พวกนกมีฟันสูญพันธุ์ไป 
มีนกที่บินไม่ได้ตัวขนาดใหญ่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในสมัยยุคพาลีโอซีนมีขนาดเล็ก ในสมัยไมโอซีนตอนกลางและตอนปลายมีขนาดใหญ่และลักษณะซับซ้อนขึ้น นอกจากนี้ยังพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในน้ำ เช่น ปลาวาฬ และวัวทะเล ที่บินได้บนอากาศก็มีเช่น ค้างคาว พวกลิง ซึ่งเกิดมาจากสัตว์กินแมลงก็พบแพร่หลาย สัตว์ไร้กระดูกสันหลัง ที่อาศัยอยู่ในทะเล มีพวกฟอแรมมินิเฟอรามาก (เช่น นัมมูไลท์) 
พวกหอยเช่น หอยสองฝา หอยโข่ง ก็พบมาก นอกจากนั้นที่พบอยู่ทั่วไปก็มีพวกอีไคนอยด์ อาร์โธรพอด เช่น พวกครัสเทเชียน บาร์นาเคิล ออสทราดอด และแมลงชนิดต่าง ๆ หอยตะเกียงพบน้อยลงและไม่มีความสำคัญมาก ปะการังพบอยู่ตามแถบร้อน 


สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Hyaenodon horridus 




ต้นตระกูลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 





                    2.) ยุคควอเทอร์นารี (Quaternary) 
                เป็นยุคที่สองที่อยู่ในมหายุคซีโนโซอิก(Cenozoic Era) แบ่งออกได้เป็น 2 สมัย คือ สมัยไพลสโตซีน (Pleistocene Epoch) มีอายุประมาณตั้งแต่ 1.6 ล้านปีจนถึง 10,000 ปี และสมัยโฮโลซีน(Holocene Epoch) มีอายุประมาณตั้งแต่ 10,000 ปีจนถึงปัจจุบัน ยุคนี้ได้ประมวลเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาตลอดจนการสะสมของตะกอนดินทรายบนผิวโลก นับตั้นแต่สิ้นยุคเทอร์เชียรี (Tertiary Period ) เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่า หินยุคควอเทอร์นารี (Quaternary System) 
                นอกจากนี้ยุคควอเทอร์รีเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และสิ่งมีชิวิตที่ได้เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้ว ได้มีปรากฏการณ์ที่สำคัญเกิดขึ้นมากมาย ยกตัวอย่างเช่น 
เกิดยุคน้ำแข็ง (Glacial Period ) ที่ก่อให้เกิดสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปก่อนเข้าสู่สมัยปัจจุบัน (Recent) ช่วงปลายยุคน้ำแข็งนี้เองได้มีค้นพบหลักฐานเกี่ยวกับมนุษย์ยุคต้นๆ ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ในปัจจุบัน เป็นยุคที่มนุษย์มีวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและพัฒนามาเป็นมนุษย์สมัยใหม่มากที่สุด ธรณีวิทยาของยุคนี้จึงมีความสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์มากที่สุด เป็นทั้งที่อยู่อาศัย ที่ทำกินและแหล่งทรัพยากรอันหลากหลายตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีของมนุษย์ ยุคน้ำแข็งตรงกับช่วงเวลาทางธรณีวิทยา คือ สมัยไพลสโตซีน (Pleistocene Epoch) ในมหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic Era) ซึ่งเป็นตอนต้นของสมัยปัจจุบัน (Holocene Epoch) เมื่อประมาณ 2 ล้านปีมาแล้ว มีน้ำแข็งปกคลุมผิวโลกมากกว่า 50 % โดยเฉพาะแถบอเมริกาเหนือและยุโรป ช่วงที่น้ำแข็งปกคลุมผิวโลกอยู่นี้มีระยะเวลายาวนานกว่า 1 ล้านปี ในช่วงนี้บางระยะเวลาอากาศจะอุ่นขึ้นทำให้มีน้ำแข็งละลายออกไปบ้างและเย็นลงเป็นน้ำแข็งปกคลุมผิวโลกสลับกันหลายครั้ง เรียกช่วงนี้ว่า Interglacial Period นักธรณีวิทยาส่วนใหญ่ได้คาดเดาว่าปริมาณน้ำแข็งที่ปกคลุมผิวโลกในยุคน้ำแข็งนั้นมีมากกว่า 75 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตรและน้ำแข็งได้มีการละลายออกไปจากส่วนเหนือของโลก เมื่อประมาณ 15,000 ปีที่ผ่านมา ในปัจจุบันนี้มีปริมาณของน้ำแข็งปกคลุมขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้รวมกันประมาณ 25 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ยุคน้ำแข็งมาจนกระทั่งถึงยุคปัจจุบัน น้ำแข็งได้ละลายออกไปจากเดิมถึง 50 ล้านลูกบาศก์กโลเมตรหรืออาจพูดอีกนัยหนึ่งหนึ่งว่า น้ำถูกดึงออกไปจากทะเลให้กลายเป็นน้ำแข็งถึง 50 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร นั่นหมายความว่า ในสมัยไพลสโตซีน(Pleistocene Epoch)ระดับน้ำทะเลทั่วไป(ทั้งโลก) ลดลงไปในยุคน้ำแข็งถึง 130 เมตร ในช่วงนี้เองจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและมีการรุกล้ำของน้ำทะเลเกิดขึ้นทั่วโลก ในช่วงนี้จะมี Land bridge เกิดขึ้นทำให้สิ่งมีชีวิตมีการอพยพข้ามไปอยู่ตามที่ต่างๆได้โดยไม่มีการ barrier ดังนั้นจึงทำให้สามารถค้นพบหลักฐานซากพืช ซากสัตว์บางชนิดตกค้างอยู่ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งในปัจจุบันซึ่งเป็น isolated land และมีวิวัฒนาการไปตามแนวทางใดแนวทางหนึ่งโดยเฉพาะ อาจจะสรุปได้ว่าสาเหตุของการมียุคน้ำแข็งปกคลุมผิวโลกในช่วงสมัยไพลสโตซีน (Pleistocene Epoch) มาจาก  1.การเปลี่ยนแปลงเนื่องจาก solar radiation  2.การเปลี่ยนแปลงของแนวโคจรหรือระยะทางระหว่างดวงอาทิตย์และโลก(Earth-Sun Geometry) และ  3.การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในโลกเอง


ช้าง Mammoth  ในยุคควอเทอร์นารี

          มหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic Era) เป็นช่วงของ 245 – 65 ล้านปีก่อน มหายุคนี้ได้ชื่อว่าเป็นมหายุคของสัตว์เลื้อยคลาน สิ่งมีชีวิตมีการวิวัฒนาการเพิ่มมากขึ้น ซากดึกดำบรรพ์ประจำยุคคือ แอมโมไนท์ (Ammonite) ซึ่งมีการวิวัฒนาการกำเนิดเพิ่มมากขึ้น อย่างรวดเร็วในทะเลจนไม่สามารถจะนับได้
มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายในสัตว์มีกระดูกสันหลัง นอกจากนี้ยังเข้าใจกันว่าเริ่มกำเนิด นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เกิดพืชดอกชนิดแรก และแมลงใหม่ๆ
การเพิ่มปริมาณของไม้ดอกเป็นสัดส่วนโดยตรง กับการเพิ่มจำนวนของแมลง ซึ่งช่วยในการผสมเกสรในช่วงแรกของมหายุคมีโซโซอิกมีพืชเมล็ดเปลือยมาก
ทั้งเฟิร์นและสน ในมหายุคนี้เกิดส่วนที่เป็นทวีปใหม่ และส่วนเป็นทะเลขึ้นใหม่หลายบริเวณ มีการสร้างภูเขาการยกตัวของทวีป และเกิดขบวนการ สลายตัวทาง
ธรณีมีผลทำให้เกิดการทับถมของแร่และน้ำมัน


            ไดโนเสาร์ชนิดแรกเกิดขึ้นและกลายเป็นกลุ่มเด่น ในยุคนี้เริ่มมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพวกมีกระเป๋าหน้าท้องและรก รวมทั้งแมลงต่างๆ และเกิดการกระจายพันธุ์อย่างมากมายของพืช

        เชื่อกันว่าภูเขาไฟระเบิดครั้งใหญ่หรือการพุ่งชนของอุกกาบาต ทำให้มีการสูญพันธุ์จำนวนมากและมหายุคมีโซโซอิกสิ้นสุดลง
        มหายุคมีโซโซอิกแบ่งเป็น 3 ยุคตามลำดับคือ

    

                   1.) ไทรแอสสิก (Triassic)  เป็นยุคแรกของมหายุคเมโสโซอิก ในช่วง 248 – 205 ล้านปีก่อน เป็นการเริ่มต้นของสัตว์พวกใหม่ๆ  สัตว์เลื้อยคลานที่มีลักษณะคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ถูกแทนที่ด้วยสัตว์ที่เป็นต้นตระกูลไดโนเสาร์  ผืนแผ่นดินไม่อุดมสมบูรณ์ต่อการเจริญเติบโตของพืช  พืชพรรณส่วนใหญ่จึงเต็มไปด้วยสน ปรง และเฟิร์น 


ไดโนเสาร์ยุคแรก





                    2.) จูแรสสิก (Jurassic) เป็นยุคกลางของมหายุคเมโสโซอิก ในช่วง 205 – 144 ล้านปีก่อน เป็นยุคที่ไดโนเสาร์ครองโลก 
ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 พวก คือ พวกซอโรพอดส์ (Sauropods) มีคอยาว หางยาว สี่ขา และมีขนาดใหญ่ที่สุด 
พวกสเตโกเซอร์ (Stegosaurs) สัตว์เลื้อยคลานที่มีแขน และมีน้ำหนักประมาณ 10 ตัน แต่มีสมองเล็กมาก 
พวกสุดท้ายคือ เทโรพอดส์ (Theropods) เป็นพวกกินเนื้อ และเดินด้วยขาหลัง
        เริ่มมีสัตว์เลื้อยคลานที่สามารถบินไปในอากาศได้บ้างแต่มีขนาดเล็ก ในทะเลมีแอมโมไนท์ และพวกเป็นที่เกาะดูดของมัน ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำตัวถึง 6 ฟุต นอกจากนี้ก็มีพวกแกสโตรพอดส์ 
 เพลีซายพอดส์ (pelecypods)  หอยแอมโมไนต์พัฒนาแพร่หลายและวิวัฒนาการไปเป็นสัตว์จำพวกปลาหมึก และอื่นๆ
        พบชั้นถ่านหินที่เกิดตอนกลางของยุคทั่วไป

        สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (mammals) เริ่มมีกำเนิดแต่มีขนาดเล็ก นกที่เก่าแก่ที่สุดที่พบคือ Archaeopteryx ก็พบในยุคนี้

        พวกพืชมีการวิวัฒนาการมากขึ้น ทำให้ดูคล้ายๆ กับพืชมีดอกและผลในปัจจุบัน พืชที่พบมากคือขิง (gingkos) ต้นไซแคดส์ (cycads) สนและไม้เฟิน




ยุคจูแรสสิกคือยุคแห่งการเริ่มต้นไดโนเสาร์ครองโลก





                    3.) ครีเทเชียส (Cretaceous) เป็นยุคสุดท้ายของมหายุคเมโสโซอิก ในช่วง 144 – 65 ล้านปีก่อน   เป็นชื่อมาจากชอล์ก ซึ่งมีการทับถมมากในยุคนี้ เป็นช่วงที่ยาวนานและมีความสำคัญ มีน้ำทะเลท่วมกินเข้าไปในส่วนของแผ่นดิน อย่างกว้างขวาง ทำให้เกิดการทับถมของตะกอนที่หนามากทั้งส่วนบนแผ่นดินและในทะเล ตอนใกล้จะสิ้นยุคนี้เกิดแผ่นดินไหว และเกิดภูเขาแอนเดสกับร็อกกี และภูเขาทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปเอเชีย
        ในยุคนี้เริ่มเกิดไม้ดอก (angiosperms) เป็นปริมาณมากและเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ต่างๆ เนื่องจากมีอาหาร อุดมสมบูรณ์มากทำให้สตัว์ต่างๆ มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พวกไม้ใหญ่ เช่น ไม้ปาปลา (papla) ไม้โอ๊ค (oak) ไม้แมกโนเลีย (magnolia) ต้นเมเปิล (maple) ไม้บีช (beech) ต้นฮอลลี (holly) และอื่นๆ เริ่มปรากฎและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว
        ไดโนเสาร์แพร่กระจายไปทุกทวีป ในทะเลมีเต่ายักษ์ (Archeton) ยาว 12 - 40 ฟุต กิ้งก่ายาวถึง 35 ฟุต มีซากดึกดำบรรพ์ ของนกสองชนิดที่มีชื่อเสียงมากมีลักษณะคล้ายสัตว์เลื้อยคลานคือมีฟัน ขากรรไกร และมีอุ้งเล็บที่ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม พบในปริมาณน้อย และยังไม่มีความสำคัญมากนัก ในทะเลยังมีพวกแอมโมไนท์อยู่ แต่มีรูปร่างผิดแปลกไป ปลามีก้างพบเห็นได้ทั่วไป
        ยุคนี้ปิดฉากลงด้วยการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศโดยเกิดยุคน้ำแข็ง และมีแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง ปริมาณของสัตว์มีมาก จนเกิดการแย่งอาหารกันเอง สัตว์ใหญ่กินสัตว์เล็ก และมีการดิ้นรนเพื่อการดำรงอยู่ของชีวิต ไดโนเสาร์ สัตว์เลื้อยคลานทะเล แอมโมไนท์ และบีเล็มไนท์สูญพันธุ์หมดสิ้น




เริ่มมีไม้ดอกเกิดขึ้นในยุคนี้



            มหายุคพาลีโอโซอิก (Paleozoic Era) เป็นช่วงของ 543 – 245 ล้านปีก่อน เริ่มมีสัตว์พวกที่ไม่มีกระดูกสันหลังซึ่งมีทั้งที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดและน้ำเค็ม เช่น   ไตรโลไบต์ (trilobite) แอมโมไนต์ (ammonite) หอย ปลา รวมทั้งแมลง สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เริ่มพบสาหร่าย เห็ดรา พืชบกชั้นต่ำ เริ่มจากพืชไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง เฟิร์น ไปจนถึงพืชมีเนื้อเยื่อลำเลียง มหายุคพาลีโอโซอิกสิ้นสุดลงเมื่อมีการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ซึ่งอาจเกิดเนื่องจากการเกิด  ยุคน้ำแข็งฉับพลันหรือเกิดภูเขาไฟระเบิด ทำให้มีการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตทั้งในทะเลและบนพื้นดินจำนวนมาก แบ่งเป็น 6 ยุค



ไตรโลไบต์ แพร่พันธุ์มากที่สุดในช่วงตอนต้นของมหายุคพาลีโซอิก 
แต่สูญพันธ์ไปในช่วงยุคเพอร์เมียน

วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต มหายุคพรีแคมเบรียน



          มหายุคพรีแคมเบรียม (Precambrian Era) เป็นช่วงของ 4,600 – 543 ล้านปีก่อน โลกก่อกำเนิดขึ้น เมื่อโลกเริ่มเย็นตัวลง จึงเกิดสิ่งมีชีวิตพวกแบคทีเรีย และเริ่มมีออกซิเจนในบรรยากาศซึ่งเกิดจากการสังเคราะห์ด้วยแสงในพวกแบคทีเรียสีเขียวแกมน้ำเงิน มีการเกิดขึ้นของสัตว์หลายเซลล์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง  ในน้ำ เช่น ฟองน้ำ  ฟอสซิลที่ดึกดำบรรพ์ที่สุดคือ แบคทีเรียโบราณอายุ 3.5 พันล้านปี


ฟอสซิลแบคทีเรียโบราณกว่าสามพันล้านปีก่อน


   ในปัจจุบันยังไม่ทราบว่าสิ่งมีชีวิตสิ่งแรกเกิดขึ้นมาในโลกได้อย่างไร ดังนั้นจึงมีผู้ตั้งสมมติฐานไว้หลายอย่างคือ
           1. SPONTANEOUS GENERATION 
เป็นสมมติฐานที่เชื่อว่าสิ่งมีชีวิตเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต นักปราชญ์สมัยก่อนเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตเกิดมาจากดินและน้ำ อาริสโตเติล ปราชญ์ชาวกรีก กล่าวว่า ปลาส่วนมากเจริญจากไข่และปลาบางชนิดเจริญมาจากโคลนและทราย แมลงบางพวกเกิดมาจากสิ่งไร้ชีวิต บางชนิดเกิดจากน้ำค้างบนใบหญ้าหรือของเน่าเสียต่าง 
           
แวน เฮลมองต์ ชาวเบลเยี่ยม เชื่อว่าเหงื่อไคลของมนุษย์ จะต้องมีสิ่งที่ให้กำเนิดชีวิตได้ เขาได้ทำการทดลองเอาเสื้อที่ใช้แล้ว และข้าวสาลีหมักไว้ในภาชนะเป็นเวลาหลายวัน ปรากฏว่ามีหนูเกิดขึ้น
           
ฟรานเซลล์โก เรดิ ชาวอิตาลี ทดลองเอาเนื้อใส่ภาชนะ เอาผ้ากรองปิดแล้วทิ้งให้เน่าปรากฏว่าไม่มีหนอนเกิดขึ้นในเนื้อเน่าเลย แต่บนผ้ากรองมีแมลงมาวางไข่ จากไข่กลายเป็นหนอน แต่ผลการทดลองไม่มีผู้ยอมรับ
           
นีดแฮม ชาวอังกฤษ ทดลองต้มเนื้อในภาชนะที่ปิดสนิท แล้วทิ้งให้เน่าเมื่อนำมาตรวจดู ก็พบจุลินทรีย์
           
สปอลลานซานิ ชาวอิตาลี คัดค้านความคิดของนีดแฮม และได้ทดลองต้มเนื้อเป็นเวลานาน และใช้อุณหภูมิสูงจึงพบว่าไม่มีจุลินทรีย์เกิดขึ้น
           
หลุยส์ พาสเตอร์ ชาวฝรั่งเศส พิสูจน์ว่าสิ่งมีชีวิตเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิตไม่ได้และมีจุลินทรีย์ปะปนอยู่ทั่วไปในอากาศ เขาจึงต้องหาวิธีป้องกันจุลินทรีย์โดยสร้างภาชนะพิเศษที่มีรูเปิดเล็ก และงอเป็นรูปตัว ก่อนจะใช้จะต้องสูบอากาศออกให้หมด แล้วต้มน้ำส่าเหล้าในภาชนะนี้เป็นเวลานาน เมื่อนำน้ำนี้มาตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ก็ไม่พบจุลินทรีย์อยู่เลย จึงทำให้สมมติฐานที่ว่าสิ่งมีชีวิตเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต หมดความเชื่อถือไป
           2. SPECIAL CREATION 
เป็นสมมติฐานที่เชื่อว่าสิ่งมีชีวิตควรจะเกิดพร้อมกับโลกในรูปต่าง  กัน ความเชื่อนี้ตรงกับความเชื่อทางศาสนา บางศาสนาที่ว่าโลกถูกสร้างขึ้นในเวลา วัน พระเจ้าสร้างมนุษย์ขึ้นผู้หญิงเกิดจากโครงกระดูกของชาย
           3. COSMOZOA 
สมมติฐานนี้กล่าวว่าในจักรวาลมีสิ่งมีชีวิตอยู่แล้ว และสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นถูกส่งมายังโลก นักฟิสิกส์เคยตรวจพบสปอร์บนอุกกาบาต ทำให้สรุปไม่ได้ว่าสปอร์ที่พบนี้มาจากโลกอื่น หรือเป็นสปอร์ที่อยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก
           4. CHEMOSYNTHETIC 
นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียชื่อ โอพาริน (A.I. OPARIN) ได้เสนอความคิดพอสรุปได้ว่า สิ่งมีชีวิตจะต้องเกิดอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยขบวนการทางชีวเคมีโดยเริ่มจากโลกสมัยนั้นมีสภาวะพอเหมาะมีแก็สต่าง  แล้วเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติขึ้น ทำให้เกิดเป็นโมเลกุลของอินทรีย์สารขึ้นมา ต่อมากลายเป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ แล้วรวมตัวกันมีลักษณะคล้ายเซลล์กลายเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ขึ้น เป็นเวลานานหลายล้านปี ปัจจุบันเป็นสมมติฐานที่มีคนยอมรับกันมากที่สุด


       เอกภพ หรือ จักรวาล (Universe) อุบัติขึ้นเมื่อประมาณ 13,000 ล้านปีมาแล้วตามทฤษฏีบิกแบง ในยุคเริ่มแรกจักรวาลมีขนาดเล็ก พลังงานมหาศาลอัดแน่นเป็นสสาร ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอสไตน์ (E = mc2)  เมื่อจักรวาลเย็นตัวลง ธาตุแรกที่เกิดขึ้นคือ ไฮโดรเจน ซึ่งประกอบขึ้นอย่างเรียบง่ายด้วยโปรตอนและอิเล็คตรอนอย่างละตัว  ไฮโดรเจนจึงเป็นธาตุที่มีอยู่มากที่สุดในจักรวาล เมื่อไฮโดรเจนเกาะกลุ่มกันจนเป็นกลุ่มแก๊สขนาดใหญ่เรียกว่า เนบิวลา (Nebula) แรงโน้มถ่วงที่ศูนย์กลางทำให้กลุ่มแก๊สยุบตัวกันจนเกิดปฏิกริยานิวเคลียร์ฟิวชัน หลอมรวมไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม ดาวฤกษ์จึงกำเนิดขึ้น  เมื่อดาวฤกษ์เผาผลาญไฮโดรเจนจนหมด ก็จะเกิดฟิวชันฮีเลียม เกิดธาตุลำดับต่อไป ได้แก่ คาร์บอน ออกซิเจน ซิลิกอน และเหล็ก (เรียงลำดับในตารางธาตุ) ธาตุเหล่านี้จึงเป็นธาตุสามัญและพบอยู่มากมายบนโลก ในท้ายที่สุดเมื่อดาวฤกษ์ขนาดใหญ่สิ้นอายุขัย ก็จะระเบิดเป็นซูเปอร์โนวา เกิดธาตุหนักที่หายากในลำดับต่อมา เช่น เงิน ทอง เป็นต้น ธาตุเหล่านี้จึงเป็นธาตุที่หายากบนโลก  
        การเวียนว่ายตายเกิดของดาวฤกษ์เกิดขึ้นหลายรอบ และครั้งสุดท้ายเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว กลุ่มแก๊สในเอกภพบริเวณนี้ได้รวมตัวกันเป็นหมอกเพลิงชื่อว่า “โซลาร์เนบิวลา” (Solar แปลว่า สุริยะ, Nebula แปลว่าหมอกเพลิง) แรงโน้มถ่วงทำให้กลุ่มแก๊สยุบตัวและหมุนรอบตัวเอง ใจกลางมีความร้อนสูงมากจนเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบฟิวชัน กลายเป็นดาวฤกษ์ที่ชื่อว่าดวงอาทิตย์ ส่วนวัสดุที่อยู่รอบๆ มีอุณหภูมิต่ำกว่า รวมตัวตามลำดับชั้นกลายเป็นดาวเคราะห์ทั้งหลาย โคจรรอบดวงอาทิตย์  (ภาพที่ 1) และเศษวัสดุที่โคจรรอบดาวเคราะห์ก็รวมตัวเป็นดวงจันทร์บริวาร


          ภาพที่ 1  กำเนิดระบบสุริยะ
                   
        โลกในยุคแรกเป็นหินหนืดร้อน ถูกกระหน่ำชนด้วยอุกกาบาตตลอดเวลา องค์ประกอบซึ่งเป็นธาตุหนัก เช่นเหล็กและนิเกิลจมตัวลงสู่แก่นกลางของโลก   ขณะที่องค์ประกอบที่เบากว่า เช่น ซิลิกอน ลอยตัวขึ้นสู่เปลือกนอกธาตุและสารประกอบที่เบามาก เช่น ไฮโดรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำ พยายามแทรกตัวออกจากพื้นผิวกลายเป็นบรรยากาศ เมื่อโลกเย็นลงเปลือกนอกตกผลึกเป็นแร่และหิน  ไอน้ำในอากาศควบแน่นเกิดฝน น้ำฝนได้ละลายคาร์บอนไดออกไซด์ลงมาสะสมบนพื้นผิว ไหลลงทะเลและมหาสมุทร  สองพันล้านปีต่อมาการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ได้ตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศมาสังเคราะห์ด้วยแสง สร้างอาหารและพลังงาน แล้วปล่อยผลผลิตเป็นแก๊สออกซิเจนออกมา   แก๊สออกซิเจนที่ลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศชั้นบน แล้วแตกตัวเป็นออกซิเจนอะตอมเดี่ยว และรวมตัวกับออกซิเจนอะตอมคู่ที่มีอยู่เดิมกลายเป็นแก๊สโอโซน  ซึ่งช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีอุลตราไวโอเล็ต   นับตั้งแต่นั้นมาทำให้สิ่งมีชีวิตบนบกก็ทวีจำนวนมากขึ้น ออกซิเจนจึงมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงบนพื้นผิวโลกในเวลาต่อมา (ภาพที่ 2)  สัดส่วนของสิ่งมีชีวิตเช่นพืชและสัตว์เป็นปัจจัยควบคุมปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจนในบรรยากาศ และควบคุมภาวะเรือนกระจกให้อยู่ในสภาวะสมดุล ท่านสามารถติดตามวิวัฒนาการของโลกได้โดยดูจากธรณีประวัติ 
                            
       
 ภาพที่ 2  วิวัฒนาการของโลก




กำเนิดระบบสุริยะ
      ระบบสุริยะเกิดจากกลุ่มฝุ่นและก๊าซในอวกาศซึ่งเรียกว่า “โซลาร์เนบิวลา” (Solar Nebula) รวมตัวกันเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว  (นักวิทยาศาสตร์คำนวณจากอัตราการหลอมรวมไฮโดรเจนเป็นฮีเลียมภายในดวงอาทิตย์)  เมื่อสสารมากขึ้น แรงโน้มถ่วงระหว่างมวลสารมากขึ้นตามไปด้วย กลุ่มฝุ่นก๊าซยุบตัวหมุนเป็นรูปจานตามหลักอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม ดังภาพที่ 1    แรงโน้มถ่วงที่ใจกลางสร้างแรงกดดันมากทำให้ก๊าซมีอุณหภูมิสูงพอที่จุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน หลอมรวมอะตอมของไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม  ดวงอาทิตย์จึงถือกำเนิดเป็นดาวฤกษ์  

ภาพที่ 1  กำเนิดระบบสุริยะ
            วัสดุชั้นรอบนอกของดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิต่ำกว่า ยังโคจรไปตามโมเมนตัมที่มีอยู่เดิม รอบดวงอาทิตย์เป็นชั้นๆ   มวลสารของแต่ละชั้นพยายามรวมตัวกันด้วยแรงโน้มถ่วง  ด้วยเหตุนี้ดาวเคราะห์จึงถือกำเนิดขึ้นเป็นรูปทรงกลม เนื่องจากมวลสารพุ่งใส่กันจากทุกทิศทาง 
            อิทธิพลจากแรงโน้มถ่วงทำให้วัสดุที่อยู่รอบๆ พยายามพุ่งเข้าหาดาวเคราะห์  ถ้าทิศทางของการเคลื่อนที่มีมุมลึกพอ ก็จะพุ่งชนดาวเคราะห์ทำให้ดาวเคราะห์นั้นมีขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากมวลรวมกัน  แต่ถ้ามุมของการพุ่งชนตื้นเกินไป ก็จะทำให้แฉลบเข้าสู่วงโคจร และเกิดการรวมตัวต่างหากกลายเป็นดวงจันทร์บริวาร  ดังเราจะเห็นได้ว่า ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ เช่น ดาวพฤหัสบดี จะมีดวงจันทร์บริวารหลายดวงและมีวงโคจรหลายชั้น เนื่องจากมีมวลสารมากและแรงโน้มถ่วงมหาศาล  ต่างกับดาวพุธซึ่งมี
ขนาดเล็กมีแรงโน้มถ่วงน้อย ไม่มีดวงจันทร์บริวารเลย  วัสดุที่อยู่โดยรอบจะพุ่งเข้าหาดวงอาทิตย์ เพราะ
มีแรงโน้มถ่วงมากกว่าเยอะ
องค์ประกอบของระบบสุริยะ
 ดวงอาทิตย์ (The Sun)  เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ตรงตำแหน่งศูนย์กลางของระบบสุริยะและเป็นศูนย์กลาง
ของแรงโน้มถ่วง ทำให้ดาวเคราะห์และบริวารทั้งหลายโคจรล้อมรอบ



ภาพที่ 2  ระบบสุริยะ
 ดาวเคราะห์ชั้นใน (Inner Planets)  เป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็ก มีความหนาแน่นสูงและพื้นผิวเป็น
ของแข็ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธาตุหนัก มีบรรยากาศอยู่เบาบาง ทั้งนี้เนื่องจากอิทธิพลจากความร้อนของ
ดวงอาทิตย์และลมสุริยะ ทำให้ธาตุเบาเสียประจุ ไม่สามารถดำรงสถานะอยู่ได้   ดาวเคราะห์ชั้นใน
บางครั้งเรียกว่า ดาวเคราะห์พื้นแข็ง “Terrestrial Planets"เนื่องจากมีพื้นผิวเป็นของแข็งคล้ายคลึง
กับโลก  ดาวเคราะห์ชั้นในมี 4 ดวง คือ ดาวพุธ  ดาวศุกร์  โลก
   และดาวอังคาร
 ดาวเคราะห์ชั้นนอก (Outer Planets)  เป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ แต่มีความหนาแน่นต่ำ เกิดจาก
การสะสมตัวของธาตุเบาอย่างช้าๆ  ทำนองเดียวกับการก่อตัวของก้อนหิมะ เนื่องจากได้รับอิทธิพลของ
ความร้อนและลมสุริยะจากดวงอาทิตย์เพียงเล็กน้อย  ดาวเคราะห์พวกนี้จึงมีแก่นขนาดเล็กห่อหุ้มด้วย
ก๊าซจำนวนมหาสาร  บางครั้งเราเรียกดาวเคราะห์ประเภทนี้ว่า ดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ (Gas Giants) หรือ  Jovian Planets   ซึ่งหมายถึงดาวเคราะห์ที่มีคุณสมบัติคล้ายดาวพฤหัสบดี  ดาวเคราะห์ชั้นนอกมี 4 ดวง
คือ ดาวพฤหัสบดี    ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
                                                                                   
 ดวงจันทร์บริวาร (Satellites)  โลกมิใช่ดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่มีดวงจันทร์บริวาร  โลกมีบริวาร
ชื่อว่า “ดวงจันทร์” (The Moon)  ขณะที่ดาวเคราะห์ดวงอื่นก็มีบริวารเช่นกัน  เช่น ดาวพฤหัสบดีมี
ดวงจันทร์ขนาดใหญ่ 4 ดวงชื่อ ไอโอ (Io), ยูโรปา (Europa), กันนีมีด (ganymede) และคัลลิสโต (Callisto)  ดาวเคราะห์และดวงจันทร์ถือกำเนิดขึ้นพร้อมๆ กัน เพียงแต่ดวงจันทร์มิได้รวมตัวกับ
ดาวเคราะห์โดยตรง แต่ก่อตัวขึ้นภายในวงโคจรของดาวเคราะห์  เราจะสังเกตได้ว่า หากมองจากด้านบน
ของระบบสุริยะ  จะเห็นได้ว่า ทั้งดวงอาทิตย์    ดาวเคราะห์และดวงจันทร์ส่วนใหญ่  จะหมุนรอบตัวเองในทิศทวนเข็มนาฬิกา  และโคจรรอบดวงทิตย์ในทิศทวนเข็มนาฬิกาเช่นกันหากมองจากด้านข้างของ
ระบบสุริยะก็จะพบว่า    ทั้งดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ และดวงจันทร์บริวาร จะอยู่ในระนาบที่ใกล้เคียงกับ
สุริยะวิถีมาก  ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากระบบสุริยะทั้งระบบ ก็กำเนิดขึ้นพร้อมๆ กัน โดยการยุบและหมุนตัว
ของจานฝุ่น  
 ดาวเคราะห์แคระ (Dwarf Planets) เป็นนิยามใหม่ของสมาพันธ์ดาราศาสตร์สากล (International    Astronomical Union) ที่กล่าวถึง วัตถุขนาดเล็กที่มีรูปร่างคล้ายทรงกลม แต่มีวงโคจรเป็นรูปรี    ซ้อนทับกับดาวเคราะห์ดวงอื่น และไม่อยู่ในระนาบของสุริยะวิถี ซึ่งได้แก่ ซีรีส พัลลาส พลูโต    และดาวที่เพิ่งค้นพบใหม่ เช่น อีริส เซ็ดนา วารูนา  เป็นต้น (ดูภาพที่ 3 ประกอบ)

ภาพที่ 3  ขนาดของดาวเคราะห์แคระเปรียบเทียบกับโลก (ที่มา: NASA, JPL)
 ดาวเคราะห์น้อย  (Asteroids) เกิดจากวัสดุที่ไม่สามารถรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ได้    เนื่องจากแรงรบกวนจากดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ เช่น ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์  ดังเราจะพบว่า   ประชากรของดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่อยู่ที่ “แถบดาวเคราะห์น้อย” (Asteroid belt)   ซึ่งอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี   ดาวเคราะห์แคระเช่น เซเรส   ก็เคยจัดว่าเป็นดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด (เส้นผ่านศูนย์กลาง 900 กิโลเมตร)    ดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่จะมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นรูปรีมาก  และไม่อยู่ในระนาบสุริยะวิถี   ขณะนี้มีการค้นพบดาวเคราะห์น้อยแล้วประมาณ 3 แสนดวง

ภาพที่ 4  แถบดาวเคราะห์น้อย (ที่มา: Pearson Prentice Hall, Inc)
 ดาวหาง (Comets) เป็นวัตถุขนาดเล็กเช่นเดียวกับดาวเคราะห์น้อย    แต่มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงยาวรีมาก  มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นก๊าซในสถานะของแข็ง    เมื่อดาวหางเคลื่อนที่เข้าหาดวงอาทิตย์ ความร้อนจะให้มวลของมันระเหิดกลายเป็นก๊าซ    ลมสุริยะเป่าให้ก๊าซเล่านั้นพุ่งออกไปในทิศทางตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ กลายเป็นหาง
 วัตถุในแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt Objects) เป็นวัตถุที่หนาวเย็นเช่นเดียวกับดาวหาง   แต่มีวงโคจรอยู่ถัดจากดาวเนปจูนออกไป บางครั้งจึงเรียกว่า Trans Neptune Objects    ทั้งนี้แถบคุยเปอร์จะอยู่ในระนาบของสุริยะวิถี โดยมีระยะห่างออกไปตั้งแต่ 40 – 500 AU (AU ย่อมาจาก   Astronomical Unit หรือ หน่วยดาราศาสตร์ เท่ากับระยะทางระหว่างโลกถึงดวงอาทิตย์ หรือ 150   ล้านกิโลเมตร)   ดาวพลูโตเองก็จัดว่าเป็นวัตถุในแถบคุยเปอร์ รวมทั้งดาวเคราะห์แคระซึ่งค้นพบใหม่ เช่น อีริส   เซ็ดนา วารูนา  เป็นต้น  ปัจจุบันมีการค้นพบวัตถุในแถบไคเปอร์แล้วมากกว่า 35,000 ดวง

ภาพที่ 5  แถบไคเปอร์ และวงโคจรของดาวพลูโต (ที่มา: NASA, JPL)
 เมฆออร์ท (Oort Cloud)  เป็นสมมติฐานที่ตั้งขึ้นโดยนักดาราศาสตร์ชาวเนเธอร์แลนด์ชื่อ แจน ออร์ท (Jan Oort) ซึ่งเชื่อว่า ณ สุดขอบของระบบสุริยะ รัศมีประมาณ 50,000 AU จากดวงอาทิตย์  ระบบสุริยะ
ของเราห่อหุ้มด้วยวัสดุก๊าซแข็ง ซึ่งหากมีแรงโน้มถ่วงจากภายนอกมากระทบกระเทือน   ก๊าซแข็งเหล่านี้ก็จะหลุดเข้าสู่วงโคจรรอบดวงอาทิตย์ กลายเป็นดาวหางวงโคจรคาบยาว (Long-period   comets)

ภาพที่ 6 ตำแหน่งของแถบไคเปอร์และเมฆออร์ท (ที่มา: NASA, JPL)

ข้อมูลที่น่ารู้

    ระบบสุริยะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12,000 ล้านกิโลเมตร
    99% ของเนื้อสารทั้งหมดของระบบสุริยะ รวมอยู่ที่ดวงอาทิตย์
    ในปัจจุบันถือว่า ดาวเคราะห์มี 8 ดวง  ดาวพลูโต   ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ เช่น ซีรีส จูโน พัลลาส เวสตา  และวัตถุไคเปอร์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น อีรีส เซดนา  ถูกจัดประเภทใหม่ว่าเป็น ดาวเคราะห์แคระ
    ดาวศุกร์มีอุณหภูมิพื้นผิวที่สูงสุดในระบบสุริยะ (ร้อนกว่าดาวพุธ) เนื่องจากมีภาวะเรือนกระจก
    ดวงจันทร์บริวารขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ที่ถูกค้นพบแล้ว มีจำนวนไม่น้อยกว่า 130 ดวง
    นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์น้อยจำนวนมากกว่า 300,000 ดวง  ส่วนใหญ่อยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อย  ระหว่างวงโคจรของดาวอังคาร และดาวพฤหัสบดี  นอกจากนั้นยังมีกลุ่มดาวเคราะห์น้อยโทรจัน  ซึ่งอยู่ร่วมวงโคจรกับดาวพฤหัสบดี  และยังมีดาวเคราะห์น้อยบางดวงโคจรเข้าใกล้โลกมากกว่าดวงจันทร์
    ดาวเคราะห์น้อยบางดวงมีดวงจันทร์บริวารด้วย เช่น ดาวเคราะห์น้อยไอดา (Ida) ขนาด 28 x 13 กิโลเมตร  มีดวงจันทร์แดคทิล (Dactyl)ขนาด 1 กม. โดยมีรัศมีวงโคจร 100 กิโลเมตร
    ดาวพลูโตที่จัดว่าเป็นดาวเคราะห์แคระ มีดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 3 ดวง