เรียนรู้ง่ายๆๆ สไตล์ครูพี่อาร์ต

เว็บไวต์นี้จัดทำเพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการวิวัฒนาการของโลกและสิ่งมีชีวิตบนพื้นผิวโลก
เว็บไซต์นี้อาจจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่สนใจศึกษา หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัย ณ ที่นี้ด้วย

นายภูวรินทร์ อินทุวงศ์ 59010512066 คณะศึกษาศาสตร์ สาขาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วิวัฒนาการของโลกและสิ่งมีชีวิตบนพื้นผิวโลก

วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559

                    

 มหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic Era) เป็นช่วงของ 65 ล้านปีก่อนจนถึงปัจจุบัน การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์เปิดทางให้เกิดการกระจายพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนานาชนิดทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ เช่น ม้า สุนัข และหมี พบลิงไม่มีหาง (ape) และในราว 5-1.8 ล้านปีก่อน พบบรรพบุรุษของมนุษย์ ส่วนบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบันนั้นพบในช่วง 1.8 ล้านปี - 11,000 ปีก่อน ในมหายุคซีโนโซอิกนี้พืชดอกกลายเป็นพืชกลุ่มเด่น แบ่งเป็น 2 ยุคดังนี้


                    1.) ยุคเทอร์เชียรี (Tertiary)
            ยุคนี้ประกอบด้วยสมัยพาลีโอซีน อีโอซีน และโอลิโกซีน มีช่วงอายุ 38 ล้านปี (จาก 66 ถึง 28 ล้านปีมาแล้ว) ในยุคนี้พบพืชบกโดยทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นพวกที่มีลักษณะคล้ายพืชปัจจุบัน แหล่งถ่านลิกไนท์ที่สำคัญเกิดในสมัยโอลิโกซีน จำพวกสัตว์มีกระดูกสันหลังพบปลาฉลามอยู่ทั่วไป ปลากระดูกแข็ง (ทีลีออสท์) เริ่มมีมากขึ้น สัตว์เลื้อยคลายมีพวกจระเข้ เต่า เริ่มพบเต่าที่อาศัยอยู่บนบก พวกนกมีฟันสูญพันธุ์ไป 
มีนกที่บินไม่ได้ตัวขนาดใหญ่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในสมัยยุคพาลีโอซีนมีขนาดเล็ก ในสมัยไมโอซีนตอนกลางและตอนปลายมีขนาดใหญ่และลักษณะซับซ้อนขึ้น นอกจากนี้ยังพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในน้ำ เช่น ปลาวาฬ และวัวทะเล ที่บินได้บนอากาศก็มีเช่น ค้างคาว พวกลิง ซึ่งเกิดมาจากสัตว์กินแมลงก็พบแพร่หลาย สัตว์ไร้กระดูกสันหลัง ที่อาศัยอยู่ในทะเล มีพวกฟอแรมมินิเฟอรามาก (เช่น นัมมูไลท์) 
พวกหอยเช่น หอยสองฝา หอยโข่ง ก็พบมาก นอกจากนั้นที่พบอยู่ทั่วไปก็มีพวกอีไคนอยด์ อาร์โธรพอด เช่น พวกครัสเทเชียน บาร์นาเคิล ออสทราดอด และแมลงชนิดต่าง ๆ หอยตะเกียงพบน้อยลงและไม่มีความสำคัญมาก ปะการังพบอยู่ตามแถบร้อน 


สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Hyaenodon horridus 




ต้นตระกูลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 





                    2.) ยุคควอเทอร์นารี (Quaternary) 
                เป็นยุคที่สองที่อยู่ในมหายุคซีโนโซอิก(Cenozoic Era) แบ่งออกได้เป็น 2 สมัย คือ สมัยไพลสโตซีน (Pleistocene Epoch) มีอายุประมาณตั้งแต่ 1.6 ล้านปีจนถึง 10,000 ปี และสมัยโฮโลซีน(Holocene Epoch) มีอายุประมาณตั้งแต่ 10,000 ปีจนถึงปัจจุบัน ยุคนี้ได้ประมวลเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาตลอดจนการสะสมของตะกอนดินทรายบนผิวโลก นับตั้นแต่สิ้นยุคเทอร์เชียรี (Tertiary Period ) เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่า หินยุคควอเทอร์นารี (Quaternary System) 
                นอกจากนี้ยุคควอเทอร์รีเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และสิ่งมีชิวิตที่ได้เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้ว ได้มีปรากฏการณ์ที่สำคัญเกิดขึ้นมากมาย ยกตัวอย่างเช่น 
เกิดยุคน้ำแข็ง (Glacial Period ) ที่ก่อให้เกิดสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปก่อนเข้าสู่สมัยปัจจุบัน (Recent) ช่วงปลายยุคน้ำแข็งนี้เองได้มีค้นพบหลักฐานเกี่ยวกับมนุษย์ยุคต้นๆ ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ในปัจจุบัน เป็นยุคที่มนุษย์มีวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและพัฒนามาเป็นมนุษย์สมัยใหม่มากที่สุด ธรณีวิทยาของยุคนี้จึงมีความสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์มากที่สุด เป็นทั้งที่อยู่อาศัย ที่ทำกินและแหล่งทรัพยากรอันหลากหลายตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีของมนุษย์ ยุคน้ำแข็งตรงกับช่วงเวลาทางธรณีวิทยา คือ สมัยไพลสโตซีน (Pleistocene Epoch) ในมหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic Era) ซึ่งเป็นตอนต้นของสมัยปัจจุบัน (Holocene Epoch) เมื่อประมาณ 2 ล้านปีมาแล้ว มีน้ำแข็งปกคลุมผิวโลกมากกว่า 50 % โดยเฉพาะแถบอเมริกาเหนือและยุโรป ช่วงที่น้ำแข็งปกคลุมผิวโลกอยู่นี้มีระยะเวลายาวนานกว่า 1 ล้านปี ในช่วงนี้บางระยะเวลาอากาศจะอุ่นขึ้นทำให้มีน้ำแข็งละลายออกไปบ้างและเย็นลงเป็นน้ำแข็งปกคลุมผิวโลกสลับกันหลายครั้ง เรียกช่วงนี้ว่า Interglacial Period นักธรณีวิทยาส่วนใหญ่ได้คาดเดาว่าปริมาณน้ำแข็งที่ปกคลุมผิวโลกในยุคน้ำแข็งนั้นมีมากกว่า 75 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตรและน้ำแข็งได้มีการละลายออกไปจากส่วนเหนือของโลก เมื่อประมาณ 15,000 ปีที่ผ่านมา ในปัจจุบันนี้มีปริมาณของน้ำแข็งปกคลุมขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้รวมกันประมาณ 25 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ยุคน้ำแข็งมาจนกระทั่งถึงยุคปัจจุบัน น้ำแข็งได้ละลายออกไปจากเดิมถึง 50 ล้านลูกบาศก์กโลเมตรหรืออาจพูดอีกนัยหนึ่งหนึ่งว่า น้ำถูกดึงออกไปจากทะเลให้กลายเป็นน้ำแข็งถึง 50 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร นั่นหมายความว่า ในสมัยไพลสโตซีน(Pleistocene Epoch)ระดับน้ำทะเลทั่วไป(ทั้งโลก) ลดลงไปในยุคน้ำแข็งถึง 130 เมตร ในช่วงนี้เองจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและมีการรุกล้ำของน้ำทะเลเกิดขึ้นทั่วโลก ในช่วงนี้จะมี Land bridge เกิดขึ้นทำให้สิ่งมีชีวิตมีการอพยพข้ามไปอยู่ตามที่ต่างๆได้โดยไม่มีการ barrier ดังนั้นจึงทำให้สามารถค้นพบหลักฐานซากพืช ซากสัตว์บางชนิดตกค้างอยู่ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งในปัจจุบันซึ่งเป็น isolated land และมีวิวัฒนาการไปตามแนวทางใดแนวทางหนึ่งโดยเฉพาะ อาจจะสรุปได้ว่าสาเหตุของการมียุคน้ำแข็งปกคลุมผิวโลกในช่วงสมัยไพลสโตซีน (Pleistocene Epoch) มาจาก  1.การเปลี่ยนแปลงเนื่องจาก solar radiation  2.การเปลี่ยนแปลงของแนวโคจรหรือระยะทางระหว่างดวงอาทิตย์และโลก(Earth-Sun Geometry) และ  3.การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในโลกเอง


ช้าง Mammoth  ในยุคควอเทอร์นารี

1 ความคิดเห็น:

  1. ทุกวันนี้เป็นเรื่องยากมากที่จะหาเลี้ยงครอบครัวของคุณในแง่วัตถุในขณะที่ไม่เสียสุขภาพ ต้องใช้เงินและเวลามหาศาลในการค้นหาเพชรแท้จากโลกแห่งคาสิโนออนไลน์ สุดท้ายนี้ฉันขอเสนอแหล่งข้อมูลนี้ https://sbobet-sports.com/sbobetauto/ เมื่อได้ลองแล้วรับรองว่าคุณจะไม่เสียใจ ลองดูด้วยนะครับ. หากคุณไม่ชอบ - โปรดอย่าสูญเสียอะไรเลย

    ตอบลบ