วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2561
วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559
วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559
มหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic Era) เป็นช่วงของ 65 ล้านปีก่อนจนถึงปัจจุบัน การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์เปิดทางให้เกิดการกระจายพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนานาชนิดทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ เช่น ม้า สุนัข และหมี พบลิงไม่มีหาง (ape) และในราว 5-1.8 ล้านปีก่อน พบบรรพบุรุษของมนุษย์ ส่วนบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบันนั้นพบในช่วง 1.8 ล้านปี - 11,000 ปีก่อน ในมหายุคซีโนโซอิกนี้พืชดอกกลายเป็นพืชกลุ่มเด่น แบ่งเป็น 2 ยุคดังนี้
1.) ยุคเทอร์เชียรี (Tertiary)
ยุคนี้ประกอบด้วยสมัยพาลีโอซีน อีโอซีน และโอลิโกซีน มีช่วงอายุ 38 ล้านปี (จาก 66 ถึง 28 ล้านปีมาแล้ว) ในยุคนี้พบพืชบกโดยทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นพวกที่มีลักษณะคล้ายพืชปัจจุบัน แหล่งถ่านลิกไนท์ที่สำคัญเกิดในสมัยโอลิโกซีน จำพวกสัตว์มีกระดูกสันหลังพบปลาฉลามอยู่ทั่วไป ปลากระดูกแข็ง (ทีลีออสท์) เริ่มมีมากขึ้น สัตว์เลื้อยคลายมีพวกจระเข้ เต่า เริ่มพบเต่าที่อาศัยอยู่บนบก พวกนกมีฟันสูญพันธุ์ไป
มีนกที่บินไม่ได้ตัวขนาดใหญ่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในสมัยยุคพาลีโอซีนมีขนาดเล็ก ในสมัยไมโอซีนตอนกลางและตอนปลายมีขนาดใหญ่และลักษณะซับซ้อนขึ้น นอกจากนี้ยังพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในน้ำ เช่น ปลาวาฬ และวัวทะเล ที่บินได้บนอากาศก็มีเช่น ค้างคาว พวกลิง ซึ่งเกิดมาจากสัตว์กินแมลงก็พบแพร่หลาย สัตว์ไร้กระดูกสันหลัง ที่อาศัยอยู่ในทะเล มีพวกฟอแรมมินิเฟอรามาก (เช่น นัมมูไลท์)
พวกหอยเช่น หอยสองฝา หอยโข่ง ก็พบมาก นอกจากนั้นที่พบอยู่ทั่วไปก็มีพวกอีไคนอยด์ อาร์โธรพอด เช่น พวกครัสเทเชียน บาร์นาเคิล ออสทราดอด และแมลงชนิดต่าง ๆ หอยตะเกียงพบน้อยลงและไม่มีความสำคัญมาก ปะการังพบอยู่ตามแถบร้อน
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Hyaenodon horridus
ต้นตระกูลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
2.) ยุคควอเทอร์นารี (Quaternary)
เป็นยุคที่สองที่อยู่ในมหายุคซีโนโซอิก(Cenozoic Era) แบ่งออกได้เป็น 2 สมัย คือ สมัยไพลสโตซีน (Pleistocene Epoch) มีอายุประมาณตั้งแต่ 1.6 ล้านปีจนถึง 10,000 ปี และสมัยโฮโลซีน(Holocene Epoch) มีอายุประมาณตั้งแต่ 10,000 ปีจนถึงปัจจุบัน ยุคนี้ได้ประมวลเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาตลอดจนการสะสมของตะกอนดินทรายบนผิวโลก นับตั้นแต่สิ้นยุคเทอร์เชียรี (Tertiary Period ) เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่า หินยุคควอเทอร์นารี (Quaternary System)
นอกจากนี้ยุคควอเทอร์รีเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และสิ่งมีชิวิตที่ได้เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้ว ได้มีปรากฏการณ์ที่สำคัญเกิดขึ้นมากมาย ยกตัวอย่างเช่น
เกิดยุคน้ำแข็ง (Glacial Period ) ที่ก่อให้เกิดสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปก่อนเข้าสู่สมัยปัจจุบัน (Recent) ช่วงปลายยุคน้ำแข็งนี้เองได้มีค้นพบหลักฐานเกี่ยวกับมนุษย์ยุคต้นๆ ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ในปัจจุบัน เป็นยุคที่มนุษย์มีวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและพัฒนามาเป็นมนุษย์สมัยใหม่มากที่สุด ธรณีวิทยาของยุคนี้จึงมีความสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์มากที่สุด เป็นทั้งที่อยู่อาศัย ที่ทำกินและแหล่งทรัพยากรอันหลากหลายตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีของมนุษย์ ยุคน้ำแข็งตรงกับช่วงเวลาทางธรณีวิทยา คือ สมัยไพลสโตซีน (Pleistocene Epoch) ในมหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic Era) ซึ่งเป็นตอนต้นของสมัยปัจจุบัน (Holocene Epoch) เมื่อประมาณ 2 ล้านปีมาแล้ว มีน้ำแข็งปกคลุมผิวโลกมากกว่า 50 % โดยเฉพาะแถบอเมริกาเหนือและยุโรป ช่วงที่น้ำแข็งปกคลุมผิวโลกอยู่นี้มีระยะเวลายาวนานกว่า 1 ล้านปี ในช่วงนี้บางระยะเวลาอากาศจะอุ่นขึ้นทำให้มีน้ำแข็งละลายออกไปบ้างและเย็นลงเป็นน้ำแข็งปกคลุมผิวโลกสลับกันหลายครั้ง เรียกช่วงนี้ว่า Interglacial Period นักธรณีวิทยาส่วนใหญ่ได้คาดเดาว่าปริมาณน้ำแข็งที่ปกคลุมผิวโลกในยุคน้ำแข็งนั้นมีมากกว่า 75 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตรและน้ำแข็งได้มีการละลายออกไปจากส่วนเหนือของโลก เมื่อประมาณ 15,000 ปีที่ผ่านมา ในปัจจุบันนี้มีปริมาณของน้ำแข็งปกคลุมขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้รวมกันประมาณ 25 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ยุคน้ำแข็งมาจนกระทั่งถึงยุคปัจจุบัน น้ำแข็งได้ละลายออกไปจากเดิมถึง 50 ล้านลูกบาศก์กโลเมตรหรืออาจพูดอีกนัยหนึ่งหนึ่งว่า น้ำถูกดึงออกไปจากทะเลให้กลายเป็นน้ำแข็งถึง 50 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร นั่นหมายความว่า ในสมัยไพลสโตซีน(Pleistocene Epoch)ระดับน้ำทะเลทั่วไป(ทั้งโลก) ลดลงไปในยุคน้ำแข็งถึง 130 เมตร ในช่วงนี้เองจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและมีการรุกล้ำของน้ำทะเลเกิดขึ้นทั่วโลก ในช่วงนี้จะมี Land bridge เกิดขึ้นทำให้สิ่งมีชีวิตมีการอพยพข้ามไปอยู่ตามที่ต่างๆได้โดยไม่มีการ barrier ดังนั้นจึงทำให้สามารถค้นพบหลักฐานซากพืช ซากสัตว์บางชนิดตกค้างอยู่ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งในปัจจุบันซึ่งเป็น isolated land และมีวิวัฒนาการไปตามแนวทางใดแนวทางหนึ่งโดยเฉพาะ อาจจะสรุปได้ว่าสาเหตุของการมียุคน้ำแข็งปกคลุมผิวโลกในช่วงสมัยไพลสโตซีน (Pleistocene Epoch) มาจาก 1.การเปลี่ยนแปลงเนื่องจาก solar radiation 2.การเปลี่ยนแปลงของแนวโคจรหรือระยะทางระหว่างดวงอาทิตย์และโลก(Earth-Sun Geometry) และ 3.การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในโลกเอง
มหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic Era) เป็นช่วงของ 245 – 65 ล้านปีก่อน มหายุคนี้ได้ชื่อว่าเป็นมหายุคของสัตว์เลื้อยคลาน สิ่งมีชีวิตมีการวิวัฒนาการเพิ่มมากขึ้น ซากดึกดำบรรพ์ประจำยุคคือ แอมโมไนท์ (Ammonite) ซึ่งมีการวิวัฒนาการกำเนิดเพิ่มมากขึ้น อย่างรวดเร็วในทะเลจนไม่สามารถจะนับได้
มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายในสัตว์มีกระดูกสันหลัง นอกจากนี้ยังเข้าใจกันว่าเริ่มกำเนิด นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เกิดพืชดอกชนิดแรก และแมลงใหม่ๆ
การเพิ่มปริมาณของไม้ดอกเป็นสัดส่วนโดยตรง กับการเพิ่มจำนวนของแมลง ซึ่งช่วยในการผสมเกสรในช่วงแรกของมหายุคมีโซโซอิกมีพืชเมล็ดเปลือยมาก
ทั้งเฟิร์นและสน ในมหายุคนี้เกิดส่วนที่เป็นทวีปใหม่ และส่วนเป็นทะเลขึ้นใหม่หลายบริเวณ มีการสร้างภูเขาการยกตัวของทวีป และเกิดขบวนการ สลายตัวทาง
ธรณีมีผลทำให้เกิดการทับถมของแร่และน้ำมัน
ไดโนเสาร์ชนิดแรกเกิดขึ้นและกลายเป็นกลุ่มเด่น ในยุคนี้เริ่มมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพวกมีกระเป๋าหน้าท้องและรก รวมทั้งแมลงต่างๆ และเกิดการกระจายพันธุ์อย่างมากมายของพืช
เชื่อกันว่าภูเขาไฟระเบิดครั้งใหญ่หรือการพุ่งชนของอุกกาบาต ทำให้มีการสูญพันธุ์จำนวนมากและมหายุคมีโซโซอิกสิ้นสุดลง
มหายุคมีโซโซอิกแบ่งเป็น 3 ยุคตามลำดับคือ
1.) ไทรแอสสิก (Triassic) เป็นยุคแรกของมหายุคเมโสโซอิก ในช่วง 248 – 205 ล้านปีก่อน เป็นการเริ่มต้นของสัตว์พวกใหม่ๆ สัตว์เลื้อยคลานที่มีลักษณะคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ถูกแทนที่ด้วยสัตว์ที่เป็นต้นตระกูลไดโนเสาร์ ผืนแผ่นดินไม่อุดมสมบูรณ์ต่อการเจริญเติบโตของพืช พืชพรรณส่วนใหญ่จึงเต็มไปด้วยสน ปรง และเฟิร์น
ไดโนเสาร์ยุคแรก
2.) จูแรสสิก (Jurassic) เป็นยุคกลางของมหายุคเมโสโซอิก ในช่วง 205 – 144 ล้านปีก่อน เป็นยุคที่ไดโนเสาร์ครองโลก
ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 พวก คือ พวกซอโรพอดส์ (Sauropods) มีคอยาว หางยาว สี่ขา และมีขนาดใหญ่ที่สุด
พวกสเตโกเซอร์ (Stegosaurs) สัตว์เลื้อยคลานที่มีแขน และมีน้ำหนักประมาณ 10 ตัน แต่มีสมองเล็กมาก
พวกสุดท้ายคือ เทโรพอดส์ (Theropods) เป็นพวกกินเนื้อ และเดินด้วยขาหลัง
เริ่มมีสัตว์เลื้อยคลานที่สามารถบินไปในอากาศได้บ้างแต่มีขนาดเล็ก ในทะเลมีแอมโมไนท์ และพวกเป็นที่เกาะดูดของมัน ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำตัวถึง 6 ฟุต นอกจากนี้ก็มีพวกแกสโตรพอดส์
เพลีซายพอดส์ (pelecypods) หอยแอมโมไนต์พัฒนาแพร่หลายและวิวัฒนาการไปเป็นสัตว์จำพวกปลาหมึก และอื่นๆ
พบชั้นถ่านหินที่เกิดตอนกลางของยุคทั่วไป
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (mammals) เริ่มมีกำเนิดแต่มีขนาดเล็ก นกที่เก่าแก่ที่สุดที่พบคือ Archaeopteryx ก็พบในยุคนี้
พวกพืชมีการวิวัฒนาการมากขึ้น ทำให้ดูคล้ายๆ กับพืชมีดอกและผลในปัจจุบัน พืชที่พบมากคือขิง (gingkos) ต้นไซแคดส์ (cycads) สนและไม้เฟิน
ยุคจูแรสสิกคือยุคแห่งการเริ่มต้นไดโนเสาร์ครองโลก
3.) ครีเทเชียส (Cretaceous) เป็นยุคสุดท้ายของมหายุคเมโสโซอิก ในช่วง 144 – 65 ล้านปีก่อน เป็นชื่อมาจากชอล์ก ซึ่งมีการทับถมมากในยุคนี้ เป็นช่วงที่ยาวนานและมีความสำคัญ มีน้ำทะเลท่วมกินเข้าไปในส่วนของแผ่นดิน อย่างกว้างขวาง ทำให้เกิดการทับถมของตะกอนที่หนามากทั้งส่วนบนแผ่นดินและในทะเล ตอนใกล้จะสิ้นยุคนี้เกิดแผ่นดินไหว และเกิดภูเขาแอนเดสกับร็อกกี และภูเขาทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปเอเชีย
ในยุคนี้เริ่มเกิดไม้ดอก (angiosperms) เป็นปริมาณมากและเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ต่างๆ เนื่องจากมีอาหาร อุดมสมบูรณ์มากทำให้สตัว์ต่างๆ มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พวกไม้ใหญ่ เช่น ไม้ปาปลา (papla) ไม้โอ๊ค (oak) ไม้แมกโนเลีย (magnolia) ต้นเมเปิล (maple) ไม้บีช (beech) ต้นฮอลลี (holly) และอื่นๆ เริ่มปรากฎและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว
ไดโนเสาร์แพร่กระจายไปทุกทวีป ในทะเลมีเต่ายักษ์ (Archeton) ยาว 12 - 40 ฟุต กิ้งก่ายาวถึง 35 ฟุต มีซากดึกดำบรรพ์ ของนกสองชนิดที่มีชื่อเสียงมากมีลักษณะคล้ายสัตว์เลื้อยคลานคือมีฟัน ขากรรไกร และมีอุ้งเล็บที่ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม พบในปริมาณน้อย และยังไม่มีความสำคัญมากนัก ในทะเลยังมีพวกแอมโมไนท์อยู่ แต่มีรูปร่างผิดแปลกไป ปลามีก้างพบเห็นได้ทั่วไป
ยุคนี้ปิดฉากลงด้วยการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศโดยเกิดยุคน้ำแข็ง และมีแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง ปริมาณของสัตว์มีมาก จนเกิดการแย่งอาหารกันเอง สัตว์ใหญ่กินสัตว์เล็ก และมีการดิ้นรนเพื่อการดำรงอยู่ของชีวิต ไดโนเสาร์ สัตว์เลื้อยคลานทะเล แอมโมไนท์ และบีเล็มไนท์สูญพันธุ์หมดสิ้น
ไดโนเสาร์แพร่กระจายไปทุกทวีป ในทะเลมีเต่ายักษ์ (Archeton) ยาว 12 - 40 ฟุต กิ้งก่ายาวถึง 35 ฟุต มีซากดึกดำบรรพ์ ของนกสองชนิดที่มีชื่อเสียงมากมีลักษณะคล้ายสัตว์เลื้อยคลานคือมีฟัน ขากรรไกร และมีอุ้งเล็บที่ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม พบในปริมาณน้อย และยังไม่มีความสำคัญมากนัก ในทะเลยังมีพวกแอมโมไนท์อยู่ แต่มีรูปร่างผิดแปลกไป ปลามีก้างพบเห็นได้ทั่วไป
ยุคนี้ปิดฉากลงด้วยการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศโดยเกิดยุคน้ำแข็ง และมีแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง ปริมาณของสัตว์มีมาก จนเกิดการแย่งอาหารกันเอง สัตว์ใหญ่กินสัตว์เล็ก และมีการดิ้นรนเพื่อการดำรงอยู่ของชีวิต ไดโนเสาร์ สัตว์เลื้อยคลานทะเล แอมโมไนท์ และบีเล็มไนท์สูญพันธุ์หมดสิ้น
มหายุคพาลีโอโซอิก (Paleozoic Era) เป็นช่วงของ 543 – 245 ล้านปีก่อน เริ่มมีสัตว์พวกที่ไม่มีกระดูกสันหลังซึ่งมีทั้งที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดและน้ำเค็ม เช่น ไตรโลไบต์ (trilobite) แอมโมไนต์ (ammonite) หอย ปลา รวมทั้งแมลง สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เริ่มพบสาหร่าย เห็ดรา พืชบกชั้นต่ำ เริ่มจากพืชไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง เฟิร์น ไปจนถึงพืชมีเนื้อเยื่อลำเลียง มหายุคพาลีโอโซอิกสิ้นสุดลงเมื่อมีการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ซึ่งอาจเกิดเนื่องจากการเกิด ยุคน้ำแข็งฉับพลันหรือเกิดภูเขาไฟระเบิด ทำให้มีการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตทั้งในทะเลและบนพื้นดินจำนวนมาก แบ่งเป็น 6 ยุค
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)